fbpx
29 เม.ย.
นอนแบบไหน? ช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับเป็นเวลานาน

อาการของออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคราญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน
  2. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันภาวะออฟฟิศซินโดรมในช่วง Work From Home สามารถทำได้ไม่ยาก ดังนี้

  • ปรับโต๊ะทำงานและสภาพแวดล้อม จัดบริเวณทำงานให้เหมาะสม แสงสว่างเพียงพอ หากอยู่ใกล้หน้าต่าง สามารถมองเห็นวิวภายนอกห้องได้ยิ่งดี ควรเลี่ยงการนั่งทำงานบนพื้น เลือกโต๊ะทำงานให้ความสูงเหมาะสม โดยจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา ปรับระดับความสูงเก้าอี้ให้พอเหมาะ หากมีที่วางแขนก็จะช่วยได้มากขึ้น แขน และข้อมือควรจะขนานกับโต๊ะทำงาน ไม่วางเมาส์และคีย์บอร์ดไกลเกินไป ทำให้ต้องเอื้อมแขน หรือก้มหลัง ควรงอข้อศอกประมาณ 90 องศา หลังตรงพิงพนักเก้าอี้ ต้นขาขนานกับพื้น ไม่งอเข่าเกิน 90 องศา หากขาไม่ถึงพื้น สามารถใช้ที่วางเท้าช่วยได้
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ควรทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรจะปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 1 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย เหยียดยืดกล้ามเนื้อ ละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ มองวิวภายนอกห้อง ผ่อนคลายความเครียด
  • บริหารร่างกายเป็นประจำ ทั้งการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่นและการออกกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายและกล้ามเนื้อมีความพร้อมในการทำงาน
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ปัจจุบันมีการใช้งานมือถือและแท็บเล็ตเป็นเวลานานขึ้น โดยเฉพาะก่อนนอนขณะอยู่บนเตียง ซึ่งนอกจากสายตาต้องทำงานหนักในความมืดแล้ว กล้ามเนื้อรอบ ๆ คอ บ่า ไหล่ ก็ต้องทำงานหนักขึ้นเช่นกัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7 – 9 ชั่วโมง และทานอาหารให้ครบถ้วนตามสารอาหาร
  • Be Active การ Work from Home ในช่วง COVID-19 อาจทำให้เกิดความเครียดและขาดการขยับร่างกาย ดังนั้นการหมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การทำงานบ้าน รดน้ำต้นไม้ หรือเต้นประกอบเพลงตาม Social Network จะช่วยให้สภาพร่างกายแข็งแรงและสภาพจิตใจแจ่มใสมากขึ้น

อีกเคล็ดลับ..ที่จะมาช่วยผ่อนคลาย และบรรเทาอาการออฟิตซินโดรม ก็คือการนอนหลับพักผ่อนบนที่นอนที่เหมาะสม อทิ เช่น ที่นอนที่ถูกวิจัยในการช่วย “ยืด (Decompress)” กระดูกสันหลังอย่างรุ่น MagniStretch ซึ่งเป็น สิทธิบัตรเฉพาะของ Magniflex ที่จะทําให้กระดูกสันหลังของคุณรู้สึกผ่อนคลาย จากผลลัพธ์ของงานวิจัยชิ้นเอกภาควิชาวิศวกรรมของ Zaragoza University ผ่านการ รับรองโดย ACA (AMERICAN CHIROPRACTIC ASSOCIATION) ประเทศอเมริกา

ที่นอนลดแรงกดทับเมมโมรี่โฟมของ Magniflex แตกต่างจากที่นอนเมมโมรี่โฟมแบรนด์อื่นอย่างไร

หลายๆท่านอาจะเคยได้ยินว่าการนอนบนที่นอนนุ่มๆจะเพิ่มอาการปวดเมื่อย และหันไปเลือกใช้ที่นอนแข็งๆแน่นๆกันนั้น บอกได้เลยว่าความแน่นที่มากจนเกินไปก็ไม่ได้ส่งผลดีให้กับร่างกาย สาเหตุด้วยแรงต้านที่มากของที่นอนแข็ง ทำให้สรีระร่างกายบางจุดที่มีปัญหา ถูกกดทับซ้ำด้วยน้ำหนักตัวตลอดทั้งคืน อาจจะทำให้อาการออฟฟิตซินโดรมเป็นหนักยิ่งขึ้นไปอีก

ดังนั้นที่นอน ที่ควรเลือกใช้นอกจากความนุ่มแน่นที่ชอบแล้ว สรีระร่างกายทุกส่วนของผู้นอนควรที่จะต้องถูกซัพพอร์ตโดยที่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีส่วนที่จมจนเกินไป หรือมีช่องโหว่ จากส่วนโค้งเว้าของร่างกาย

“ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ MagniStretch หรือ  095-907-6587 ที่ Magniflex Flagship Store เรายังมีบริการ Pre-Booking สำหรับ Mattress Fitting กับนักกายภาพบำบัด เพื่อให้คุณได้ที่นอนที่นอนสบายและเหมาะสมกับสรีระของคุณที่สุด พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านสรีรศาสตร์ อีกด้วย”

https://www.instagram.com/magniflex_thailand/

Menu